วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แม่ไม้สำคัญ ในการสร้างบ้าน แบบประหยัดทั้งเงินและพลังงาน

แม่ไม้สำคัญ ในการสร้างบ้านประหยัดเงินและประหยัดพลังงาน


1. อย่าใส่แหล่งความร้อน (ลานคอนกรีต) ในบ้าน
ภาย ในบริเวณบ้านไม่ควรมี ลานคอนกรีตในทิศทางรับแสงแดดจัด เช่น ทิศใต้และทิศตะวันตก เนื่องจากในเวลากลางวันคอนกรีตจะกลายเป็นมวลสารสะสมความร้อน (Thermal mass) มีการสะสมความร้อนไว้ในเวลากลางวันในปริมาณมาก ด้วยคุณสมบัติการนำความร้อนของวัสดุและจะถ่ายเทความร้อนกลับสู่บ้านของท่าน ในเวลากลางคืน จึงทำให้สภาพแวดล้อมของบ้านและตัวบ้านมีอุณหภูมิสูงตามไปด้วย การจัดวางตำแหน่งพื้นคอนกรีตเพื่อเป็นที่จอดรถยนต์หรือชานหรือระเบียงที่ดี ควรเลือกวางในทิศที่ไม่ถูกแสงแดดมาก เช่น ทิศเหนือ ทิศตะวันออกและควรมีร่มเงาจากต้นไม้ช่วยลดปริมาณแสงแดด

2. รั้วบ้าน...ต้องโล่ง...โปร่ง...สบาย
รั้ว บ้านไม่ควรออกแบบให้ มีลักษณะทึบตันเนื่องจากรั้วทึบจะกีดขวางการเคลื่อนที่ของลมเข้าสู่ตัวบ้าน ทำให้ภายในตัวบ้านอับลมนอกจากนี้วัสดุที่ใช้ทำรั้วบางชนิด เช่น อิฐมอญ คอนกรีต เสริมเหล็ก คอนกรีตบล็อก ยังมีคุณสมบัติสะสม

3. อย่าลืม!!ต้นไม้ให้ร่มเงา
การ ปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้านหรือคอนโดนอกจากจะสร้างความร่มรื่นและความสดชื่นสบายตาสบายใจ แก่ผู้อาศัยในบ้านแล้วใบไม้หลากรูปทรงและสีสันที่แผ่กิ่งก้านสาขายังสามารถ ลดแสงแดดที่ตกกระทบตัวบ้านและให้ร่มเงาที่ร่มเย็นแก่ผู้อยู่อาศัยได้เป็น อย่างดีนอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดต้นไม้ใบหญ้าทั้งหลายยังช่วยลดความร้อนจากสภาพแวดล้อม ด้วยการคายไอน้ำผ่านทางปากใบได้อีกด้วยซึ่งควรพิจารณาตำแหน่งการปลูกต้นไม้ ใหญ่น้อยในบริเวณบ้านให้สัมพันธ์กับร่มเงาที่เกิดขึ้นกับตัวบ้านไว้ล่วงหน้า

ข้อควรระวัง! การปลูกไม้ใหญ่ใกล้บ้านหรือคอนโดเกินไป ต้องระวังรากของต้นไม้ใหญ่จะสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างของบ้านจึงควร ดูความเหมาะสมของชนิดต้นไม้

4. ก่อนสร้าง อย่าลืม!!! พื้นชั้นล่างปูแผ่นพลาสติก
บ้าน พักอาศัยทั่วไปในปัจจุบันทั้งชั้นล่างและชั้นบนมักติดตั้ง เครื่องปรับอากาศให้ความเย็นและลดความชื้นภายในพื้นที่ กันเป็นจำนวนมาก การเตรียมการก่อสร้างบ้านในส่วนโครงสร้างพื้นชั้นล่างควรปูแผ่นพลาสติก เพื่อป้องกัน ความชื้นที่ระเหยขึ้นจากผิวดิน ซึ่งเป็นผลให้มีความเสียหายที่วัสดุปูพื้นชั้นล่าง และประเด็นที่สำคัญด้านพลังงานคือเกิดการสะสมความชื้นภายในพื้นที่ชั้นล่าง ของตัวบ้านเป็นที่มาของภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้นใน ที่สุด สิ่งที่ควรระวังระหว่างการก่อสร้างส่วนดังกล่าว คือ การฉีกขาดเสียหาย ของพลาสติกเนื่องจากเหล็กที่ใช้ในระหว่างการก่อสร้าง จึงต้องมีการเตรียมก่อสร้างไว้ล่วงหน้าเช่นกัน

5. หันบ้านให้ถูกทิศ (ลม-แดด-ฝน) จิตแจ่มใส
การ ออกแบบบ้านเรือนในประเทศไทยไม่ควรหลงลืมปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการถ่ายเท ความร้อนสู่ตัวบ้าน นั่นคือส่วนใหญ่ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทางทิศใต้ (แดดอ้อมใต้) เป็นเวลา 8-9 เดือนและด้วยมุมกระทำของดวงอาทิตย์ต่อพื้นโลกมีค่าน้อย (มุมต่ำ) จึงทำให้การป้องกันแสงแดดทำได้ยากเป็นผลให้ทิศทางดังกล่าวได้รับอิทธิพลจาก แสงแดดรุนแรงเกือบตลอดปี การวางตำแหน่งบ้านและการออกแบบ รูปทรงบ้านที่ดีต้องหลีกเลี่ยงการรับแสงแดดในทิศดังกล่าวนอกจากนี้ลมประจำ (ลมมรสุม) ที่พัดผ่านประเทศไทยมีทิศทางชัดเจนจากทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน และพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาวการวางผังบ้านและทิศทางตำแหน่งช่อง หน้าต่างเพื่อระบายความร้อนในบ้าน จึงต้องคำนึงถึงทิศทางกระแสลมเหล่านี้เป็นสำคัญอีกด้วย

6. มีครัวไทยต้องไม่เชื่อมติดตัวบ้าน
การ ทำครัวแบบไทย นอกจากจะได้อาหารที่มีรสเผ็ดร้อนถูกปากคนไทยแล้วยังก่อให้เกิดความร้อนสะสม ขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวในปริมาณมากอีกด้วย อันเนื่องมาจากอุปกรณ์และกิจกรรมการทำครัวต่างๆซึ่งแตกต่างจากครัวฝรั่งโดย สิ้นเชิงความร้อนที่เกิดขึ้นในห้องครัวที่ติดกับตัวบ้านจะสามารถถ่ายเทเข้า สู่พื้นที่ใกล้เคียงได้อย่างรวดเร็วในลักษณะสะพานความร้อน (Thermal Bridge) และหากห้องติดกันเป็นพื้นที่ปรับ อากาศจะยิ่งสิ้นเปลืองพลังงานในการทำความเย็นของห้องดังกล่าวมากขึ้นโดยใช่ เหตุ แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมระหว่างห้องครัวกับตัวบ้าน เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น

7. ประตูหน้าต่างต้องมีทางลมเข้าออก
การ ระบายความร้อนภายในบ้านโดยใช้ลมธรรมชาติพัดผ่านหน้าต่าง ภายในห้องต้องมีช่องทางให้ลมเข้าและลมออกได้อย่างน้อย 2 ด้านมิฉะนั้นลมจะไม่สามารถไหลผ่านได้และสิ่งที่ดีที่สุดคือการออกแบบให้ช่อง หน้าต่างอยู่ตรงข้ามกันและมีขนาดใหญ่เท่าเทียมกันจะทำให้การระบายความร้อน เกิดขึ้นมากที่สุด นอกจากนี้การวางตำแหน่งช่องหน้าต่างต้องตอบรับทิศทางการเคลื่อนที่ของลม ประจำด้วยแต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าลมที่นำเข้าสู่อาคารต้องทำให้เป็นลมเย็น เสียก่อนจึงจะทำให้การลดความร้อนมีประสิทธิผล

การออกแบบให้ลมไหลผ่านตัวบ้านได้ดีมีข้อควรระวังได้แก่
1. ต้องติดตั้งมุ้งลวดเพื่อกรองฝุ่นละอองเกสรที่จะเข้าบ้าน
2. การติดช่องหน้าต่างในตำแหน่งเยื้องกันจะช่วยบังคับให้ลมไหลผ่านห้องต่าง ๆ ตามตำแหน่งที่ต้องการได้

8. ผังเฟอร์นิเจอร์ต้องเตรียมไว้ก่อน ไม่ร้อนและประหยัดพลังงาน
บ้าน ที่ดีควรมีการจัดวางผังเฟอร์นิเจอร์ในแต่ละห้องไว้ล่วงหน้า เพื่อความสะดวกในการจัดเตรียมตำแหน่งติดตั้ง ปลั๊ก สวิทช์ ไว้ให้ เพียงพอสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆในบ้าน นอกจากนี้การเตรียมการดังกล่าวไว้ล่วงหน้าจะตรวจสอบได้ว่าตำแหน่งใดในบ้านมี เฟอร์นิเจอร์วางกีดขวางการเคลื่อนที่ของกระแสลมหรือไม่หรือตอบรับแสงสว่าง ธรรมชาติและกระแสลมธรรมชาติมากน้อยเพียงใดและควรแก้ไขปรับปรุงอย่างไรให้ดี ขึ้น ควรแยกอุปกรณ์ที่จะสร้างความร้อนออกนอกห้องปรับอากาศ เช่น ตู้เย็น เครื่องต้มน้ำ

9. อย่า!!! มีบ่อน้ำหรือนำพุในห้องปรับอากาศ
คุณสมบัติ ทางอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ คือ การลดอุณหภูมิและความชื้น ทำให้พื้นที่ห้องต่าง ๆ อยู่ในสภาวะสบาย ซึ่งการตกแต่งประดับพื้นที่ภายในห้องด้วยน้ำพุ น้ำตก อ่างเลี้ยงปลา หรือแจกันดอกไม้ ย่อมทำให้ภายในห้องมีแหล่งความชื้นเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นและทำให้เครื่อง ปรับอากาศต้องใช้พลังงานในการลดความชื้นมากกว่าปกติ

10. ช่องอากาศที่หลังคาพาคลายร้อน
หลังคา ที่ดีนอกจากจะสามารถคุ้มแดดคุ้มฝนได้ ยังต้องมีคุณสมบัติ ในการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้อีกด้วย ภายในช่องว่างใต้หลังคา เป็นพื้นที่เก็บกักความร้อนที่แผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ก่อนถ่ายเทเข้าสู่ พื้นที่ส่วนต่างๆภายในบ้านดังนั้นการออกแบบให้มีการระบายอากาศ (ร้อน) ภายในหลังคาออกไปสู่ภายนอกได้ ไม่ว่าจะเป็นช่องลมบริเวณจั่วหลังคาหรือระแนงชายคาจึงเป็นเรื่องที่ดีต่อการ ลดความร้อนในบ้าน แต่พึงระวังให้การระบายอากาศร้อนดังกล่าวอยู่เหนือฉนวนภายในฝ้าเพดาน มิฉะนั้นความร้อน จะสามารถถ่ายเทลงสู่ตัวบ้านได้อยู่ดี

ข้อควรระวัง คือ
1. ต้องมีการติดตั้งตาข่ายป้องกันนก แมลง เข้าไปทำรังใต้หลังคาด้วย
2. ต้องมีการป้องกันฝนเข้าช่องเปิดระบายอากาศด้วย

11. ต้องใส่"ฉนวน"ที่หลังคาเสมอ
ฉนวน กันความร้อนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถกั้นหรือป้องกัน ความร้อนที่เกิดขึ้นจากแสงแดดไม่ให้เข้าสู่บ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นจากส่วนผนังหรือหลังคาบ้าน แต่ช่องทางที่ความร้อนจากแสงแดดถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้านได้มากที่สุดในเวลากลาง วันคือพื้นที่หลังคา ดังนั้นการลดความร้อนจาก จากพื้นที่ดังกล่าว ด้วยการใช้ฉนวนซึ่งมีรูปแบบและการติดตั้งที่เหมาะสมกับพื้นที่ สอดคล้องกับการใช้งานจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการลดการใช้พลังงานภายใน บ้าน

12. กันแสงแดดดีต้องมีชายคา
กันสาด หรือชายคาบ้านเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญกับอาคาร บ้านเรือนในเขตร้อนเช่นประเทศไทย เนื่องจากมีคุณสมบัติการ ป้องกันแสงแดด(ความร้อน)ไม่ให้ตกกระทบผนังและส่องผ่านเข้าสู่ช่องแสงและ หน้าต่างได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ตำแหน่ง และทิศทางการติดตั้งกันสาดที่มีความจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านที่มีแสงแดดรุนแรง ได้แก่ ทิศใต้และทิศตะวันตก นอกจากนี้ ข้อดีอีกประการของการติดตั้งชายคาและกันสาด คือ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการป้องกันฝนเข้าสู่ ตัวบ้านอีกด้วย

13. ห้องไหนๆติดเครื่องปรับอากาศ อย่าลืมติดฉนวน
การ ลดภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศที่สำคัญ คือ ลดความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้านและพื้นที่ใช้สอย ดังนั้น การติดตั้งฉนวนกันความร้อนในพื้นที่ห้องที่ปรับอากาศเพื่อลดความร้อนนอกจาก จะทำให้ห้องเย็นสบายจากแสงแดดและ ป้องกันความร้อนเข้าตัวบ้านแล้วยังทำให้สภาพภายในห้องปรับลดอุณหภูมิลงอย่าง รวดเร็วเนื่องจากมีความร้อนสะสมอยู่ภายในห้องน้อยจึงช่วยลดค่าไฟฟ้าของ เครื่องปรับอากาศได้

14. บานเกล็ด บานเปิด บานเลื่อน ต้องใช้ให้เหมาะสม
หน้าต่าง แต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการใช้สอยที่แตกต่างกันตามความต้องการ จึงควรเลือกชนิดของหน้าต่างให้ เหมาะสมกับพื้นที่ภายในห้อง...หน้าต่างบานเปิดมีประสิทธิภาพในการรับกระแสลม สูงที่สุด...แต่อย่างไรก็ตาม ต้องจัดวางให้สอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของกระแสลมด้วย นอกจากนี้พึงระวังการใช้หน้าต่างบานเกล็ดในห้อง ปรับอากาศ เพราะหน้าต่างชนิดนี้มีรอยต่อมาก ทำให้อากาศภายนอกรั่วซึมเข้ามาได้ง่าย จึงส่งผลให้ความร้อนและ ความชื้นถ่ายเทสู่ภายในห้องได้สะดวกเช่นกัน ซึ่งเป็นผลให้เครื่องปรับอากาศทำงานมากขึ้น

15. ทาสีผนังให้ใช้สีอ่อน ไม่ร้อนดี แต่ถ้าเปลี่ยนสี (เข้ม) ต้องมีฉนวน
สี ผนังมีผลต่อการสะท้อนแสงแดดและความร้อนเข้าสู่อาคารมากน้อยต่างกัน สีอ่อนจะมีคุณสมบัติสะท้อนแสงแดด และการถ่ายเทความร้อนเข้าภายในบ้านดีกว่า สีเข้มตามลำดับความเข้มของสี ผนังภายนอกที่สัมผัสแสงแดดจึงควรเลือกใช้สีโทนอ่อน เช่น ขาว ครีม เป็นต้น เพื่อช่วยสะท้อนความร้อน ในทางกลับกันหากต้องการทาสีผนังภายนอกบ้านเป็นสีเข้มก็สามารถ กระทำได้ แต่ไม่ควรอยู่ในตำแหน่งที่โดนแสงแดดหรือต้องมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนใน บริเวณนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนเป็นการชดเชย นอกจากสีภายนอกอาคารแล้ว การทาสีภายในอาคารด้วยสีอ่อน จะช่วยสะท้อนแสงภายในห้อง เพิ่มความสว่างภายในบ้าน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเปิดใช้โคมไฟมากเกินไป

16. ห้องติดเครื่องปรับอากาศต้องไม่ไร้บังใบประตูหน้าต่าง
ความ ชื้นในอากาศที่รั่วซึมเข้าภายในอาคารบ้านเรือน (Air Infiltration) เป็นสาเหตุของภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ และ ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการป้องกันปัญหาด้วยการออกแบบที่กระทำได้ไม่ลำบากคือ การเลือกใช้ประตูและหน้าต่างห้องในบ้านที่มีการบังใบวงกบ เพื่อลดการรั่วซึมของ อากาศร้อนและความชื้นจากภายนอกที่ไหลผ่านรอยต่อวงกบ ประตู หน้าต่าง เข้าสู่ภายใน

กรณี บานหน้าต่างสามารถใช้ซิลิโคนสีใสช่วยปิดช่องอากาศรั่วได้ ส่วนกรณีบานประตูก็สามารถซื้อแผ่นพลาสติกปิดช่องอากาศรั่วมาติดเพิ่มเติม ได้ในภายหลัง โดยควรเลือกชนิดพลาสติกจะทำความสะอาดและกันลมรั่วได้ดีกว่าแบบผ้า

17. ห้องน้ำดีต้องมีแสงแดด
ผนัง ห้องน้ำ เป็นพื้นที่ ไม่กี่จุดในบ้านที่ควรจัดวางให้สัมผัสแสงแดดมากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ด้วยเหตุผลด้านสุขอนามัยและเพื่อลดความชื้นสะสมภายในตัวบ้าน นอกจากนี้การเลือกวางตำแหน่งห้องน้ำทางด้าน ทิศตะวันตกหรือทิศใต้ ยังมีข้อดีในการเป็นพื้นที่กันชน (Buffer Zone) ระหว่างแสงแดดกับพื้นที่ในบ้านได้อีกด้วย

นอกจากจะต้องมีช่องแสงแดด ที่มากแล้ว ควรมีช่องลมในปริมาณที่มากพอ เพื่อระบายความชื้นภายในห้องน้ำด้วยซึ่งมีข้อควรระวัง คือ ติดตาข่ายป้องกันแมลงที่ช่องลมด้วย

18. รับแสงเหนือเพื่อประหยัดแสงไฟ
ช่อง แสงหรือหน้าต่างภายในบ้านควรออกแบบจัดวางให้เอื้อต่อการนำแสงธรรมชาติส่อง เข้ามาภายในห้องได้ ทุกๆห้อง ไม่ว่าจะเป็นห้องนั่งเล่น ห้องนอน ห้องอาหาร หรือแม้แต่ห้องน้ำ ห้องเก็บของและบันได เพื่อลด การใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าในบ้าน เนื่องจากแสงธรรมชาติเป็นแสงที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดและไม่เสีย ค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่มากับแสงธรรมชาติ คือความร้อน ดังนั้นทิศทางช่องแสงหรือหน้าต่างในบ้าน ที่ดีที่สุด คือทิศเหนือ เนื่องจากได้รับอิทธิพลความร้อนของแสงแดดน้อยที่สุดในรอบปี (ดวงอาทิตย์อ้อมเหนือเพียง 3 เดือน) และมีลักษณะความสว่างคงที่ (Uniform) ในแต่ละวัน

19. คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ...ต้องวางให้ถูกที่
การ วางตำแหน่งคอมเพรสเซอร์ นอกจากจะพิจารณาเรื่องความ สวยงามแล้วยังมีผลอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง ปรับอากาศและการทำความเย็นภายในห้อง จึงควรเลือกวางตำแหน่ง เครื่องให้อยู่ในจุดที่พัดลมของเครื่องสามารถระบายความร้อน ได้สะดวก ไม่มีสิ่งกีดขวางทิศทางลม และนอกจากนี้ตัวเครื่องต้อง ไม่ได้รับความร้อนจากแสงแดดมากนักในช่วงเวลากลางวัน เช่น ทิศเหนือหรือตะวันออก เพราะการสะสมความร้อนที่ตัวเครื่องใน ปริมาณมาก จะทำให้เครื่องปรับอากาศกินไฟมากขึ้น

20. ไม่ใช้หลอดไส้..หลอดร้อนหลากสี.. ชีวีเป็นสุข
หลอด ไฟฟ้าชนิดหลอดไส้ (Incandescent Lamp) หลอด ฮาโลเจน (Halogen Lamp) ที่มีสีสันสวยงามเหล่านี้เป็นดวงโคม ที่นอกจากจะให้ความสว่างแล้วยังปล่อยความร้อนสู่พื้นที่ภายในห้องใน ปริมาณมาก เมื่อเทียบกับหลอดผอมหรือหลอดฟลูออเรสเซนท์ และหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนท์หรือหลอดตะเกียบ ซึ่งมี ประสิทธิภาพทางพลังงาน (Efficacy) สูงกว่า คือให้ความสว่างมาก แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่า ในห้องที่มีการปรับอากาศ การใช้งาน หลอดตระกูลหลอดไส้เหล่านี้ ทำให้ห้องมีความร้อนเพิ่มมากขึ้น และเครื่องปรับอากาศทำงานมากขึ้น

ที่มา: จากกระทรวงพลังงานและทรัพยากรณ์
ซื้อขายบ้าน โครงการบ้านใหม่ ติดตามได้ที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น