วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สินเชื่อบ้านที่คนคิดจะกู้ซื้อขายบ้านต้องรู้ไว้

สินเชื่อบ้านที่คนคิดจะกู้ซื้อขายบ้านต้องรู้ไว้

blog รอบรู้เรื่องขายบ้าน โครงการบ้านใหม่ ขอขอบคุณภาพจาก thaihometown.com


โดยปกติทั่วไปแล้ว สินเชื่อบ้านนั้น ไม่ว่าจะกู้เพื่อซื้อโครงการบ้านใหม่หรือซื้อขายบ้าน ก็จะเป็นสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยค่ะ โดยจะมีที่อยู่อาศัยนั้นในการเป็นหลักประกันจำนองค่ะ จะให้แก่ผู้ให้กู้สินเชื่อบ้านนั้นๆ เพื่อเป็นสินเชื่อมีการประกันในประเภทที่มีหลักประกันที่จะเป็นอสังหาริมทรัพย์ ที่ไม่สูญหาย หรือ เคลื่อนย้ายไม่ได้ และยังเป็นปัจจัยสำคัญในการที่เราจะดำรงชีวิตของผู้กู้ได้ ดังนั้นในสินเชื่อบ้านจึงมักจะมีอัตราดอกเบี้ยที่จะค่อนข้างต่ำ เมื่อเราเทียบกับบริการสินเชื่ออื่นๆแล้ว ที่ธนาคารหรือที่ผู้ให้กู้มีเสนอให้แก่ลูกค้ารายย่อยค่ะ

ทั้งนี้ จะสามารถแบ่งประเภทสินเชื่อบ้านออกตามเป็นลักษณะและวัตถุประสงค์ต่างๆ ในการขอสินเชื่อ ได้ดังนี้ค่ะ

ข้อ 1. สินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน หรือทาวน์เฮ้าส์ หรืออาคารพาณิชย์และอาคารชุดค่ะ

ข้อ 2. สินเชื่อเพื่อที่จะปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตนเองค่ะ

ข้อ 3. สินเชื่อเพื่อที่จะปรับปรุง ต่อเติม หรือซ่อมแซม ที่อยู่อาศัยค่ะ

ข้อ 4. สินเชื่อเพื่อที่จะไถ่ถอนหนี้ ที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินที่อื่นๆ ค่ะ

วงเงินของการกู้ และระยะเวลากู้

โดยปกติทั่วไปแล้ววงเงินกู้ที่สถาบันการเงินจะให้กู้นันจะอยู่ที่ประมาณ 70-80% ของราคาประเมินนั้นๆ หรือราคาซื้อขายนั้นๆ ซึ่งที่บางทีเรียกกันสั้นๆ กันว่า LTV (Loan to Value ratio) นั่นเองค่ะ แต่ในปัจจุบันนี้ ตลาดมีการแข่งขันสูงขึ้น สถาบันทางการเงินจึงทำข้อตกลงกับโครงการจัดสรรต่างๆ หรือโครงการที่ได้ธนาคารให้การสนับสนุนในทางด้านการเงิน ธนาคารส่วนใหญ่อาจจะให้วงเงินกู้สูงถึง 90-100 % ของราคาประเมินนั้นๆ หรือราคาซื้อขายนั้นๆ ส่วนระยะเวลาของการกู้ ธนาคารมักกำหนดให้ระยะเวลากู้นานสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 15-30 ปี (ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันค่ะ) แต่ธนาคารส่วนใหญ่ก็มักจะกำหนดให้ระยะเวลาของการกู้เมื่อรวมกับอายุผู้กู้แล้วจะต้องไม่เกิน 65-70 ปี ค่ะ เช่น ในกรณี อายุ 40 ปี จะกู้ได้สูงสุดถึง 30 ปี เป็นต้น และสำหรับผู้กู้ที่มีกำลังผ่อนในปัจจุบันในระยะเวลา 15 ปีนั้นๆ หรือ 20 ปี ถ้าหากคาดการณ์ว่าในอีก 2-3 ปี ข้างหน้าจะมีภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวที่จะสูงขึ้นและจะทำให้มีปัญหาการผ่อนชำระได้ ก็อาจจะขยายระยะเวลากู้เป็น 25-30 ปี ก็เป็นได้เช่นกัน เพื่อเงินงวดที่ผ่อนต่อเดือนน้อยที่สุดนั้น เพราะในภายหลังถ้าเมื่อครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะสามารถชำระเงินงวดได้เพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้เดิมได้เช่นกัน เช่นในกรณี เดิมผ่อนเดือนละ 8,000 บาท และก็อาจจะเพิ่มเป็นเดือนละ 10,000 บาท หรือมากกว่านั้นก็ได้ ซึ่งจะทำให้หนี้เงินกู้หมดเร็วยิ่งขึ้น

ระยะเวลาในการกู้

เมื่อผู้ซื้อบ้านได้คิดจะกู้เงินก็มักจะคิดตั้งคำถามกับตนเองเสมอว่า แล้วจะกู้ในระยะเวลานานแค่ไหน ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้วธนาคารจะให้กู้ตั้งแต่ 5-30 ปี ค่ะ ในการตัดสินใจตรงนี้จะขึ้นอยู่กับวว่างเงินกู้ ของผู้กู้และความสามารถในการผ่อนชำระเงินกู้ในของผู้กู้ เพราะถ้าหากผู้กู้ต้องการวงเงินกู้ที่สูง แต่ความสามารถในการที่จะผ่อนชำระนั้นค่อนข้างต่ำ จึงจำเป็นต้องที่ะขยายเวลาออกไปให้ได้นานที่สุดเป็น 25-30 ปี ค่ะ เพื่อที่จะให้เงินงวดนั้นลดลงจนถึงจุดที่สามารถผ่อนชำระได้คะ เพราะในวงเงินกู้ที่เท่ากัน อัตราดอกเบี้ย ที่เท่ากัน ก็จะยิ่งใช้เวลาผ่อนนานมากขึ้น

ดังนั้นในเงินกู้ตามสัญญาที่เดิมที 25 ปี ก็อาจจะผ่อนหมดในเวลาที่สั้นลง เหลือเพียงประมาณ 10 ปีเท่านั้น แต่การจะกู้ได้นานสูงสุดกี่ปีนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับอายุของผู้กู้ด้วยค่ะ โดยธนาคารส่วนใหญ่นั้นจะกำหนดว่า เมื่อรวมอายุของผู้กู้แล้วบวกกับระยะเวลากู้แล้วจะต้องไม่เกิน 60, 65 หรือ 70 ปี ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันการเงินนั้นจะกำหนด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าธนาคารอาคารสงเคราะห์กำหนดอายุของผู้กู้ไว้แล้วว่า เมื่อรวมกับระยะเวลากู้แล้ว ต้องไม่เกิน 70 ปี เพราะฉะนั้นถ้าผู้กู้นั้นอายุ 50 ปี ก็จะสามารถกู้ได้ยาวที่สุดเพียงแค่ 70-50 = 20 ปีเท่านั้นค่ะ แต่ก็จะกู้สั้นหรือยาวนั้นก็จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการที่จะผ่อนชำระหนี้ของผู้กู้เป็นหลักด้วย หากกู้ระยะเวลาสั้น ผู้กู้ก็จะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยมาก แต่ก็จะต้องจ่ายเงินงวดต่อเดือนสูง อย่างไรก็ตามถ้าหากผู้กู้มีรายได้น้อยในปีแรกๆนั้น หรือต้องการผ่อนสบายๆนั้น เมื่อมีรายได้มากขึ้นก็จะค่อยโปะภายหลังก็ได้เช่นกัน หรืออาจขอกู้ระยะเวลานานจะดีกว่าก็ได้ค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น